2016-02-22 11:25:08 ใน ข่าวประชาสัมพันธ์ » 0 1334 วันมาฆบูชา ในปี 2559 นี้ ตรงกับ วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ ซึ่งก็ถือว่าเป็นปีหนึ่งที่ดี เพื่อที่จะได้ให้ประชาชนทั่วไปสามารถหยุดและพาครอบครัวไปทำบุญ และพิธีทางศาสนาได้อยากเต็มที่ วันนี้สกู๊ปเอ็มไทย จึงนำประวัติ มาฆบูชา ความสำคัญและ บทสวดมนต์ คำสอนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับ วันมาฆบูชา มาฝากกันครับ
วันมาฆบูชา “วันจาตุรงคสันนิบาต” วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันมาฆบูชา หรือ วันจาตุรงคสันนิบาต “มาฆะ” เป็นชื่อเดือน 3 ที่ย่อมาจากคำว่า “มาฆบุรณมี” ที่หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน วันมาฆบูชา ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 3 หรือประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น 15 ค่ำกลางเดือน 4 หรือประมาณเดือนมีนาคม
วันมาฆบูชา ในภาษาบาลีอ่านว่า “มาฆปูชา” และ “มาฆบูชา” ย่อมาจาก “มาฆปูรณมีบูชา” ซึ่งหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเ นื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น เมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ
- พระสงฆ์สาวก จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย
- พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือ ผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
- พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรง อภิญญา 6
- วันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณ มีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้น จึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4
ปัจจุบัน วันมาฆบูชา ได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทาน โอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล
สำหรับในปี พ.ศ. 2559 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ตามปฏิทินสุริยคติ การเตรียมตัวก่อนประกอบพิธีเวียนเทียนมีดังนี้
- อาบน้ำ ชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้เบิกบาน
- แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับสถานที่
- เตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ตลอดจนเครื่องบูชาให้เรียบร้อย
- เมื่อถึงวัดแล้วควรอยู่ในอาการสำรวม ไม่พูดคุยหยอกล้อ วิ่งเล่น หรือทำกิจกรรมอันไม่เหมาะสม
ความหมายการเวียนเทียน วันมาฆบูชา
- เวียนเทียน รอบที่ 1 : รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยภาวนาบท อิติปิโส ภะคะวาฯ ไปจนจบ เพื่อให้จิตใจมีสมาธิ
- เวียนเทียน รอบที่ 2 : รำลึกถึงคุณพระธรรม ภาวนาบทสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมฯ ไปจนจบ
- เวียนเทียน รอบที่ 3 : รำลึกคุณพระสงฆ์ ภาวนาบทสุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ ไปจนจบ ระหว่างนั้นต้องทำจิตใจให้สงบ แน่วแน่กับบทบูชา
-
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
หลักการปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชา คือ ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และเข้าวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา อีกทั้งบำเพ็ญประโยชน์แก่บุคคลรอบข้าง บำรุงสถานที่ศาสนา เมื่อถึงตอนค่ำ จะนำดอกไม้ธูปเทียน นำมาเวียนรอบพระอุโบสถ โดยเวียนจากขวาไปซ้าย จำนวน 3 รอบ ซึ่งระหว่างเดินให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงค์ และคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นบุญกุศลให้กับตัวเอง
อภิญญา 6
อภิญญา แปลว่า “ความรู้ยิ่ง” หมายถึง ปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน
- อิทธิวิธิ หมายถึง แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
- ทิพพโสต หมายถึง มีหูทิพย์
- เจโตปริยญาณ หมายถึง กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
- ปุพเพนิวาสานุสติญาณ หมายถึง ระลึกชาติได้
- ทิพพจักขุ หมายถึง มีตาทิพย์
-
บทสวดมนต์ ในวันมาฆบูชา
บทสวด
อัชชายัง มาฆะปุณณะมี สัมปัตตา มาฆะนักขัตเตนะ ปุณณะจันโท ยุตโต ยัตถะ ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ จาตุรังคิเก สาวะกะสันนิปาเต
โอวาทะปาฏิโมกขัง อุททิสิ ตะทาหิ อัฑฒะเตระสานิ สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง สัพเพ เต เอหิภิกขุกา สัพเพปิ เต อะนามันติตาวะ ภะคะวะโต สันติกัง อาคะตา เวฬุวะเน กะลันทะกะนิวาเป มาหะปุณณะมิยัง วัฑฒะมานะกัจฉายายะ ตัสมิญจะ สันนิปาเต ภะคะวาวิสุทธุโปสะถัง อะกาสิ อะยัง อัมหากัง ภะคะวะโต เอโกเยวะ สาวะกะสันนิปาโต อะโหสิ จาตุรังคิโก อัพฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง มะยันทานิ อิมัง มาฆะปุณณะมี นักขัตตะสะมะยัง ตักกาละสะทิสัง สัมปัตตา จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะระมานา อิมัสมิง ตัสสะ ภะคะวะโต สักขิภูเต เจติเย อิเมหิ ทีปะธูปะปุปผาทิสักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง ตานิ จะ อัฑฒะเตระสานิ
ภิกขุสะตานิ อะภิปูชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สะสาวะกะสังโฆ สุจิระปะรินิพพุโต คุเณหิ ธะระมาโน อิเม ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ
คำแปล
วันนี้มาประจวบวันมาฆปุรณมี เพ็ญเดือน ๓ พระจันทร์เพ็ญประกอบด้วยฤกษ์มาฆะ ตรงกับวันที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ขึ้น ในที่ประชุมสาวกสงฆ์พร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ ครั้งนั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ไม่มีผู้ใดเรียกมาประชุมยังสำนักพระผู้มีพระภาค ณ เวฬุวนาราม เวลาตะวันบ่ายในวันมาฆปุรณมี, แลสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำวิสุทธิอุโบสถ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ขึ้น ณ ที่ประชุมแห่งนั้น การประชุมสาวกสงฆ์ พร้อมด้วยองค์ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลายนี้ ได้มีครั้งเดียวเท่านั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ล้วนแต่พระขีณาสพ บัดนี้เราทั้งหลายมาประจวบมาฆปุรณมีนักขัตต์สมัยนี้ ซึ่งคล้ายกับวันจาตุรงคสันนิบาตนั้นแล้ว มาระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์นั้น ด้วยสักการะทั้งหลายมีเทียนธูปแลดอกไม้เป็นต้นเหล่านี้ ในเจดียสถานนี้ ซึ่งเป็นพยานของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยสาวกสงฆ์ แม้ปรินิพพานนานมาแล้วด้วยดี ยังเหลืออยู่แต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย จงทรงรับสักการะบรรณาการคนยากเหล่านี้ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ.
- อาสวักขยญาณ หมายถึง รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป
เครดิตจาก http://scoop.mthai.com/specialdays/2319.html